“เฟมโตเลสิค” (Femto LASIK) คือ การทำเลสิคที่นำเทคโนโลยีเฟมโตเซคอนด์เลเซอร์ (Femtosecond (FS) laser) หรือเลเซอร์ความเร็วสูงมาใช้ผ่าตัดแก้ไขสายตา สำหรับโรงพยาบาลยันฮีใช้เครื่อง WAVELIGHT FS 200 ร่วมกับเครื่องเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) รุ่น EX 500 รุ่นใหม่ล่าสุดของบริษัท Alcon ถือเป็นการใช้เลเซอร์ในทุกขั้นตอนการรักษา ตั้งแต่การแยกชั้นกระจกตาไปจนถึงการเจียระไนกระจกตาโดยไม่ใช้ใบมีดไมโครเคอราโตม จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เลสิคไร้ใบมีด” (Bladeless LASIK) สามารถกำหนดความลึกของชั้นกระจกตาได้ มีความแม่นยำสูง ทำให้แยกชั้นความหนาของฝากระจกตาได้บาง ขอบแผลเรียบ และทำให้ผิวกระจกตาสมานได้เร็ว ดีกว่าการทำเลสิคแบบดั้งเดิมถือเป็นทางเลือกเลสิคแบบใหม่ ถ้าถามว่าทำ “femto lasik ที่ไหนดี?” คำตอบคือ “femto lasik ยันฮี” เพราะมีจักษุแพทย์ผู้ชำนาญการ เครื่องมือและอุปกรณ์อันทันสมัย ที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย และให้ผลลัพธ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพ

ข้อดีของการทำ เฟมโตเลสิค
ข้อดีของการทำเฟมโตเลสิคมีหลากหลายประการ ขั้นพื้นฐานที่คนไข้จะได้รับความพึงพอใจ คือ
- การรักษาภาวะสายตาผิดปกติอย่างถาวร แต่อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถช่วยป้องกันปัญหาสายตาใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
- ลดโอกาสการเกิดสายตาเอียงใหม่ภายหลังการทำเลสิค
- เกิดภาวะตาแห้งหลังผ่าตัดได้น้อยกว่า
- ความดันลูกตาเพิ่มน้อยกว่าขณะทำการผ่าตัด จึงทำให้ปลอดภัยต่อขั้วประสาทตามากกว่า
- สามารถแก้ไขค่าสายตาได้มากกว่าการทำเลสิคแบบดั้งเดิม เนื่องจากการแยกชั้นกระจกตาด้วยเฟมโตเซคอนด์เลเซอร์สามารถกำหนดความลึก ความหนา และลักษณะของฝากระจกตาได้
- สามารถแยกชั้นฝากระจกตาได้หนาตามกำหนด 90-120 ไมครอน ใน ขณะที่ เลสิคแบบดั้งเดิมแยกชั้นกระจกตาได้บางสุดเพียง 130-150 ไมครอน
- เฟมโตเลสิคมีความแม่นยำมากกว่า ลดโอกาสเกิดการแยกชั้นกระจกตาไม่สมบูรณ์จากการใช้ใบมีดไมโครเคอราโตม
- ลดภาวะแทรกซ้อนในการแยกชั้นกระจกตา ได้แก่ ความผิดปกติของฝากระจกตาที่แยกชั้น เช่น ฝากระจกตาทะลุ, ฝากระจกตาหลุดออกทั้งหมด, ฝากระจกตาที่ตัดได้ไม่เรียบหรือไม่สม่ำเสมอ หรือมีรอยถลอกที่พื้นผิวของฝากระจกตา เป็นต้น ซึ่งผลกระทบเหล่านี้มีผลต่อค่าความชัดของสายตา
- หลังการผ่าตัด นอกจากนี้ยังเกิดโอกาสติดเชื้อได้น้อยกว่าเลสิคแบบดั้งเดิมถึง 2.4 เท่า
ผลข้างเคียงจากการทำ เฟมโตเลสิค
มีโอกาสเกิดการอักเสบในชั้นของกระจกตาจากการสะสมของฟองอากาศที่เกิดจากพลังงานของเฟมโตเซคอนด์เลเซอร์ แต่การอักเสบจะลดลงเมื่อใช้เลเซอร์ที่ pulse rate มากขึ้นเพราะทำให้พลังงานโดยรวมลดลง นอกจากนี้ ยังอาจเกิด opaque bubble layer (OBL) ที่ฟองอากาศแทรกเข้าไปสะสมในเนื้อเยื่อกระจกตา หรือเกิดฟองอากาศรั่วเข้าไปในช่องหน้าม่านตาซึ่งไม่มีผลต่อผลการรักษาในระยะยาว ทั้งยังอาจเกิดอาการแพ้แสงชั่วคราวจากการอักเสบของกระจกตาหลังการผ่าตัดทั้งที่การมองเห็นชัดเจนดี สามารถรักษาด้วยการทานยาแก้อักเสบ
ข้อมูลเพิ่มเติม : เลสิคยันฮี